ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ ทริปนี้ที่เชียงใหม่ มาร่วม เดินทาง ทริปของคุณ ไปกับเราที่นี่เร็วๆนี้   Click to listen highlighted text! ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ ทริปนี้ที่เชียงใหม่ มาร่วม เดินทาง ทริปของคุณ ไปกับเราที่นี่เร็วๆนี้

เวียงกุมกามปัจจุบัน อยู่ในเขตการปกครองท้องถิ่นของเทศบาลตำบลท่าวังตาล เทศบาลตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี และเทศบาลตำบลหนองหอย อำเภอเมือง ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ ๕ กิโลเมตร


จากการศึกษาภาพถ่ายทางอากาศ และการสำรวจทางโบราณคดี มีร่องรอยแนวกำแพงเวียงทางทิศใต้คูเวียงทางทิศเหนือและทิศตะวันออก สันนิษฐานตามสภาพว่า เวียงมีลักษณะสี่เหลี่ยมผีนผ้า ขนาดกว้าง ๖๐๐ เมตร ยาว ๘๕๐ เมตร โดยประมาณ

 

สำนักงานศิลปากรที่ ๘ เชียงใหม่ กรมศิลปากร ดำเนินการขุดค้นขุดแต่ง และอนุรักษ์โบราณสถาน ที่อยู่ทั้งภายใน และภายนอกเวียงเล้ว จำนวน ๔๒ แห่ง ยืนยันว่า ฐานโบราณสถานทุกแห่งถูกทับถมด้วยตะกอนน้ำท่วม ในระดับ ๑ – ๒ เมตร

 

เวียงกุมกามในปัจจุบัน จึงมีสภาพดังเช่น “นครโบราณใต้พิภพ” ที่ถูกเปิดเผยออกมาให้สาธารณชนได้รับรู้

 

เวียงกุมกาม
ศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม
ศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม

ชาวบ้านจัดบริการรถราง และรถม้า เพื่อพานักท่องเที่ยวชมโบราณสถานเวียงกุมกามจำนวน 10 แห่ง ได้แก่ วัดกู่ป้าด้อม วัดช้างค้ำ วัดธาตุน้อย วัดอีก้าง(อีค่าง) วัดหนานช้าง วัดปู่เปี้ย วัดธาตุขาว วัดพระเจ้าองค์ดำ วัดพญามังราย และวัดเจดีย์เหลี่ยม

 

ใช้เวลานำชมประมาณ 45 นาที ค่าบริการรถม้า 250-300 บาท รถรางคนละ 15 บาทหรือเหมาคันประมาณ 400 บาท นอกจากนี้ยังรับจัดกิจกรรมเลี้ยงขันโตกและสาธิตภูมิปัญญาพื้นบ้านบริเวณ เวียงกุมกาม

 

สอบถามรายละเอียดได้ที่ศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม โทร. 053 140 322

ศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม
บริการรถม้า เวียงกุมกาม
บริการรถม้า เวียงกุมกาม

วัดกู่ป้าด้อม

วัดกู่ป้าด้อม

วัดช้างค้ำ

วัดช้างค้ำ
วัดช้างค้ำ
วัดช้างค้ำ
วัดช้างค้ำ

วัดธาตุน้อย

วัดธาตุน้อย
วัดธาตุน้อย

วัดอีก้าง

วัดอีก้าง
วัดอีก้าง

วัดหนานช้าง

วัดหนานช้าง
วัดหนานช้าง

เวียงกุมกาม เป็นเมืองโบราณที่พญามังราย (พ่อขุนเม็งราย) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1829 โดยให้ขุดคูเวียงทั้ง 4 ด้านเพื่อไขน้ำแม่ปิงให้ขังไว้ในคูเวียง โบราณสถานที่ปรากฎอยู่ในเวียงกุมกาม และใกล้เคียง

 

จากการสำรวจพบว่ามีอยู่ 20 แห่ง ทั้งที่เป็นซากโบราณสถาน และเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่ แต่ละแห่งอยู่กระจัดกระจายกัน มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 21-22


ปัจจุบันเวียงกุมกาม อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่ ประมาณกิโลเมตรที่ 3-4 ถนนเชียงใหม่-ลำพูน ในเขตตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี และอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำปิงด้านทิศตะวันออก

วัดปู่เปี้ย

วัดปู่เปี้ย
วัดปู่เปี้ย

วัดธาตุขาว

วัดธาตุขาว
วัดธาตุขาว

วัดพระเจ้าองค์ดำ วัดพญามังราย

วัดพระเจ้าองค์ดำ วัดพญามังราย
วัดพระเจ้าองค์ดำ วัดพญามังราย

วัดเจดีย์เหลี่ยม

วัดเจดีย์เหลี่ยม หรือ เจดีย์กู่คำ สร้างขึ้นในรัชสมัยของพญามังราย เมื่อปี พ.ศ. 1831 กล่าวคือ หลังจากที่พระองค์ได้ยกทัพมาตีเมืองลำพูนแล้วทรงมอบเมืองลำพูนให้อำมาตย์คน สนิทชื่อ อ้ายฟ้า ครองเมืองแทน

 

ส่วนพระองค์ก็ยกทัพไปสร้างเมืองใหม่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ได้ 5 ปี จึงยกทัพไปสร้างเมืองใหม่อยู้ใกล้ฝั่งแม่น้ำปิง เมื่อปี พ.ศ. 1820 ให้ชื่อเมืองนี้ว่าเวียงกุมกาม จนถึงปี พ.ศ. 1830 พระองค์ทรงให้ช่างไปถ่ายแบบพระเจดีย์มาจากวัดจามเทวีลำพูน เพื่อนำมาสร้างให้เป็นที่สักการะแก่คนทั้งหลาย


หลังจากนั้นมาเป็นเวลาหลายร้อยปี วัดนี้ได้ถูกทอดทิ้งให้รกร้าง จนถึงปี พ.ศ. 2451 มีคหบดีชาวพม่าคนหนึ่งได้มาเห็นเข้า เกิดความเลื่อมใส ได้บูรณะขึ้นใหม่ โดยให้ช่างชาวพม่าเป็นผู้ดำเนินการ จึงมีศิลปแบบพม่าเข้ามาแทนที่ศิลปแบบขอม ซึ่งเป็นแบบดั้งเดิม คงมีแต่โครงสร้างที่ยังเป็นรูปเดิมอยู่เท่านั้น

 

วัดเจดีย์เหลี่ยม
วัดเจดีย์เหลี่ยม
วัดเจดีย์เหลี่ยม
วัดเจดีย์เหลี่ยม
วัดเจดีย์เหลี่ยม
วัดเจดีย์เหลี่ยม

อัลบั้มภาพ เวียงกุมกาม3.12.63

« of 7 »

ข้อมูลเพิ่มเติม

ศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม 142/2 หมู่ 2 ต.ท่าวังตาล อ.สารภี เทศบาลนครเชียงใหม่, จังหวัดเชียงใหม่ 50140

โทร. 053 140 322

เฟสบ๊คเพจ https://www.facebook.com/WiangkumkamInformationCenter

ที่ตั้ง

@trip

@trip

บริการทำเว็บ Responsive web = เว็บบนมือถือ สมาทโฟน แทปเลต คอมพิวเตอร์ เว็บเดียวที่รองรับการแสดงผลได้หลากหลายอุปกรณ์ ในราคาเพียง 3,990 บาทต่อปี (ปีแรกค่าจัดทำ +6,000 บาท)
วัดพระธาตุดอยสะเก็ด พระอารามหลวงวัดพระธาตุดอยสะเก็ด พระอารามหลวง Previous post วัดพระธาตุดอยสะเก็ด พระอารามหลวง
เวียงกุมกามเวียงกุมกาม Next post อัลบั้มภาพ เวียงกุมกาม3.12.63
Close
Click to listen highlighted text!