ดอยอ่างขาง
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นสถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวง ตั้งอยู่บนเทือกเขาตะนาวศรี ต.แม่งอน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,400 ม. และมียอด
ดอยสูงถึง 1,928 ม. พื้นที่รับผิดชอบประมาณ 26.52 ต.ร.ก.ม. หรือ 16,577 ไร่ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า “ให้เขาช่วยตัวเอง”เปลี่ยนพื้นที่จากไร่ฝิ่นมาเป็นแปลงเกษตรเมืองหนาว ที่สร้างรายได้ดีกว่าเก่าก่อน
ประวัติ…ดอยอ่างขาง
โดยเรื่องกำเนิดของ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง แห่งนี้ เป็นเกร็ดประวัติเล่ากันต่อมาว่า ครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จทางเฮลิคอปเตอร์ผ่านยอดดอยแห่งนี้ และทอดพระเนตรลงมาเห็นหลังคาบ้านคนอยู่กันเป็นหมู่บ้าน
จึงมีพระดำรัสสั่งให้เครื่องลงจอด เมื่อเสด็จพระราชดำเนินลงมาทอดพระเนตรเห็นทุ่งดอกฝิ่น และหมู่บ้านตรงนั้นก็คือหมู่บ้านของชาวเขาเผ่ามูเซอ ซึ่งในสมัยนั้นยังไว้แกละถักเปียยาว แต่งกายสีดำ สะพายดาบ ทำการปลูกฝิ่นแต่ยังยากจน
ทั้งยังทำลายทรัพยากรป่าไม้ ต้นน้ำลำธารที่เป็นแหล่งสำคัญต่อระบบนิเวศน์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนอื่น ๆ ของประเทศได้ พระองค์มีพระราชดำรัสที่จะแปลงทุ่งฝิ่นให้เป็นแปลงเกษตร
สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจบนดอยอ่างขาง
1. สถานีท่องเที่ยวในโครงการเกษตรหลวงดอยอ่างขาง
สวนแปดสิบ
เป็นสวนจัดกลางแจ้งจะอยู่ด้านในสถานีฯ ตรงข้ามบริเวณสโมสร ซึ่งสวนนี้ตั้งชื่อตามอายุขององค์ประธานมูลนิธิ โครงการหลวงหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี
ในวาระที่ทรงมีอายุครบ 80 ชันษา โดยจะจัดตกแต่งสวนในสไตล์อังกฤษ ด้วยพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ เมืองหนาวนานาชนิด เช่น กะหล่ำประดับ เดซี ลินาเลีย ชบาอาบูติลอน ฯลฯ
สวนคำดอย
เป็นสวนที่รวบรวมพันธุ์ไม้ดอกตระกูลโรโดเดนดรอน (Rhododendron) หรือ ดอกคำดอย(กุหลาบพันปลี) ซึ่งดอกคำที่ปลูกส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์นำเข้าจากต่างประเทศ
เช่น นิวซีแลนด์ ฮอลแลนด์ และ อังกฤษ ซึ่งจะไม่มีปลูกที่ อื่นนอกจากที่สวนแห่งนี่ที่เดียว และลักษณะเด่นของกุหลาบพันปลีที่นำเข้าจะเป็นกุหลาบพันปลีด่าง คือลักษณะ ต้นใบจะด่างในบ้างพันธุ์ดอกกุหลาบพันปลีจะมีสีเหลืองและสีชมพู
ส่วนกุหลาบพันปลีพันธุ์พื้นเมืองนั้น จะมีดอก สีแดง หรือ สีขาว นอกจากนี้ยังมีการปลูกไม้ดอกเมืองหนาวหลายชนิด เช่น อะซาเลีย คาเมเลีย ลาเวนเดอร์ ซึ่งสวนนี้จะอยู่ตรงข้ามกับสวนแปดสิบ
สวนหอม
สวนนี้จะอยู่ติดกับบริเวณสโมสรของสถานีฯ โดยภายในสวนจะรวบรวมพันธุ์ไม้ หอมทุกชนิดทั้งพันธุ์ไม้หอมของ ไทยและพันธุ์ไม้หอมจากต่างประเทศ
เช่น หอมหมื่นลี้ เนสเตอเตียมคาร์เนชัน เจอราเนียม หญ้าหอม ลาเวนเดอร์ ลาเวนดริน และ แมกโนเลีย (ไม้ยืนต้นตระกูลจำปีป่า)
สวนบอนไซ
บริเวณด้านในสวนบอนไซจะจัดแสดงบอนไซหลากหลาย รูปแบบ และยังมีบอนไซที่มีอายุยืนที่สุดในโลกให้ได้ ชมอีกด้วย
นอกจากนี้โดมรูปทรงหกเหลี่ยมจะจัดแสดงพืชภุเขาเขตร้อนและ ดอกกล้วยไม้จิ๋วที่สุดที่จะ ออกดอก ใน ช่วงเดือน มกราคมของทุกปี
และมีสวนหินธรรมชาติที่นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับพันธุ์ไม้ป่าหลากชนิดและจุด ชมวิวที่จะมอง เห็นทัศนีย์ภาพของสถานีฯได้ทั่วบริเวณ
แปลงไม้ผลเมืองหนาว
เป็นแปลงทดลองปลูกไม้ผลเมืองหนาวชนิดต่างๆ ได้แก่ พีช บ๊วย พลับ สาลี่ พลัม กีวีฟรุ๊ต ราสพ์เบอรี่ บูลเบอรี่ สตรอเบอรี่ หยางเมย
ซึ่งนักท่องเที่ยวที่เข้ามายังสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง สามารถมองเห็นแปลงไม้ ผลไม้ เมืองหนาว เหล่านี้ได้ตลอดเส้นทางที่ขับรถรอบบริเวณสถานีฯ แต่เนื่องจากแปลงไม้ผลเมืองหนาวเหล่านี้เป็น แปลงงานทดลอง
นักท่องเที่ยวจึงได้รับอนุญาตให้ชื่นชมความสวยงามและ แปลกตาของไม้ผลเหล่านี้แค่บริเวณ ภายนอกแปลงเท่านั้น
โรงเรือนทดสอบพันธุ์กุหลาบตัดดอก
ภายในโรงเรือนกุหลาบท่านจะได้ชื่นชมกับกุหลาบตัดดอกสายพันธุ์จากประเทศเนเธอร์แลนด์กว่า 7 สายพันธุ์ ซึ่งจะมีสีสันสวยงามและมีกลิ่นหอมพร้อมรอผู้มาเยือน
สวนสมเด็จ
เนื่องจากเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนาง เจ้าพระบรมราชินีนาถเสด็จยัง ดอยอ่างขาง และหลังจากเสร็จพระราชภาระกิจการทรงงานแล้วจะทรงประทับพักผ่อนพระอิริยาบถในสวนแห่งนี้
โดยลักษณะของ สวนจะเป็นสวนหินที่เกิดขึ้นเองตาม ธรรมชาติและภายในสวนจะรวบรวมพันธุ์ไม้ประเภทฝิ่น ประดับ ดอกป๊อปปี้ และ ไม้เมืองหนาวชนิดต่างๆ ได้แก่ กระดุมเงินกระดุมทอง ปักษาสวรรค์ เป็นต้น
เรือนดอกไม้
เป็นโรงเรือนที่รวบรวมพันธุไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาวชนิดต่างๆ มากมาย อาทิเช่น บีโกเนีย รองเท้านารี พืชกิน แมลง มีมุมน้ำตกในสวนสวย
ซึ่งดอกไม้ในสวนเหล่านี้จะหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันออกดอกตลอดทั้งปี นอกจากนี้ ภายในบริเวณโรงเรือนจะมีจุดจำหน่ายผลผลิตของสถานีและผลิตภัณฑ์แปรรูป พร้อมมีมุมนั่งพักจิบกาแฟอีกด้วย
กุหลาบอังกฤษ
เหตุที่เรียกกุหลาบก็เนื่องมาจากกุหลาบที่ปลูกในสวนแห่งนี้ เป็นกุหลาบที่นำเข้าจากประเทศอังกฤษ โดยหม่อมเจ้า ภีศเดช รัชนี องค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวง
ซึ่งสายพันธุ์ที่นำเข้ามาปลูกนั้นมีมากกว่า 200 กว่าสายพันธุ์ และ กุหลาบเหล่านี้จะผลิดอกสวยที่สุดจะเป็นช่วงเดือนเมษายนของทุกปี
พระตำหนัก
เป็นเรือนที่ประทับแรมและศาลาทรงงานเมื่อพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จยังสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง โดยทั่วบริเวณ จะตกแต่งด้วยพันธุ์ไม้ป่า ไม้ดอกเมืองหนาวต่างๆโดยนักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมบริเวณด้านนอกของ พระตำหนักได้
โรงเรือนรวบรวมพันธุ์ผัก
เป็นโรงเรือนที่รวบรวมพันธุ์ผักเมืองหนาวชนิดต่างๆ ที่ปลูกในพื้นที่โครงการหลวง ซึ่งมีพื้นที่ที่ใช้ปลูกผักในโรงเรือน 1,165 ตารางเมตร
โดยจัดแสดงไว้ให้นักท่องเที่ยวและผู้สนใจเข้าเยี่ยมชม โดยชนิดผักที่ปลูกในโรงเรือนได้แก่ ผักตระกูลกะหล่ำ เช่น กะหล่ำดาว กะหล่ำปลี, ผักตระกูลแตง
เช่น ซุกินีเหลือง ฟักประดับ, ผักตระกูลมะเขือ เช่น มะเขือเทศเชอรี่ มะเขือม่วงก้านดำ , ผักตระกูลแครอท เช่น พาร์สเลย์ เซเลอรี่ และ ผักตระกูลถั่ว เช่น ถั่วหวาน ถั่วปากอ้า
จุดชิมชา
จะตั้งอยู่บริเวณใกล้กับสวนบอนไซ โดยขับรถผ่านหน้าสวนบอนไซ แล้วเลี้ยวขวาเข้าไปตามถนนจะพบจุดชิมชา
ซึ่งเป็นสถานที่ผลิตชาเขียวของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้ชมขั้นตอนการผลิตชา พร้อมการ สาธิตวิธีการชงชาและยังจะได้ชิมชาอีกด้วย
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
เส้นทางเหล่านี้จะอยู่ในแปลงสาธิตการปลูกป่าทดแทน จะเป็นเส้นทางเดินป่าระยะสั้นโดย เป็นเส้นทางที่ทางสถานี
กำหนดขึ้นรอบๆสถานีฯ ซึ่งมีเส้นทางทั้งหมด 9 เส้นทางด้วยกัน และพันธุ์ไม้ที่ปลูกในแปลงสาธิตเหล่านี้จะเป็น พันธุ์ไม้ที่นำเข้ามาปลูกจากประเทศไต้หวัน อาทิเช่น สน การบูร เมเปิล ฯลฯ
สถานีท่องเที่ยวรอบโครงการเกษตรหลวงดอยอ่างขาง
1.จุดชมพระอาทิตยขึ้น
เป็นจุดที่อยู่ระหว่างเส้นทางที่จะมุ่งหน้าไปบ้านขอบด้งและนอแล จุดนี้จะเป็นจุดที่สามารถชมพระอาทิตย์ขึ้น ได้สวยงามโดยเฉพาะในฤดูหนาวจะเป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวจะมารอชมพระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอกตอนเช้า ทำให้เป็นจุดท่องเที่ยวที่คึกคักอีกจุดหนึ่ง
2.จุดชมทะเลหมอก
จะอยู่ก่อนถึงไร่สตอเบอรี่ขั้นบันได เป็นจุดชมทะเลหมอกที่สวยแห่งหนึ่งของดอกอ่างขาง โดยจะมีสา หมอกบางๆ คลอเคลียไปตามไหล่เขาเป็นภาพที่งดงามยิ่งนัก
3.ไร่สตอเบอรี่ ขั้นบันได
ไร่สตอเบอรี่ที่ปลูกตามไหล่ขั้นเป็นขั้นบันไดลดหลั่นกันลงมา หากในยามเช้าจะได้พบกับแสงแดดอุ่นพากผ่าน สายหมอกในยามเช้า ตามไหล่เขาที่อยู่เบื้องหลัง และยังได้เห็นวิถีชีวิตชาวบานที่มาเก็บสตอเบอรี่ในยามเช้าด้วย
4.จุดชมวิวชายแดนไทยพม่า
จุดนี้จะตั้งอยู่ ณ ฐานทหารไทยบริเวณเดียวกับหมู่บ้านนอแล ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างชายแดนไทยและชายแดน ของประเทศพม่า ดังนั้นนักท่องเที่ยวจะสามารถมองเห็น
5.หมู่บ้านนอแล
เป็นหมู่บ้านของชาวเขาเผาปะหล่องที่อพยพมาจากประเทศพม่า ซึ่งหมู่บ้านจะตั้งอยู่ห่างจากตัวสถานีฯประมาณ 5 ก.ม.นักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมวิถีชีวิตของชาวปะหล่องได้ นอกจากนี้ยังมีของที่ระลึกจำหน่าย อาทิเช่น กระเป๋า,ผ้าพันคอ,ผ้าถุง ซึ่งถือเป็นฝีมือของชาวเขาเองแถบทั้งสิ้น
6.หมู่บ้านขอบด้ง
ตั้งอยู่บริเวณสันขอบอ่างระหว่างพื้นที่ดอยอ่างขางและอำเภอฝาง โดยอยู่ห่างจากสถานีฯออกไปประมาณ 4 กิโลเมตรเป็นหมู่บ้านของชาวมูเซอดำที่มีวัฒนธรรมความเป็นอยู่เรียบง่าย ซึ่งภายในหมู่บ้านจะมีศูนย์หัตถกรรมที่ จำหน่ายสินค้าที่ระลึก
เช่น กำไลหญ้าอิบูแค ตะกร้าสาน ฯลฯหมู่บ้านคุ้มบ้านคุ้มจะตั้งอยู่บริเวณ ด้านหน้าสถานีฯ ซึ่งประกอบไปด้วยคนหลายเชื้อชาติ ทั้งชาวไทยใหญ่,ชาวพม่า และชาวจีนฮ่อ โดยส่วนมากชาวบ้านจะประกอบ อาชีพด้านการค้า เช่น การขายของที่ระลึก,ผลไม้ดอง แช่อิ่ม , เปิดบริการด้านอาหารและที่พักเพื่อรองรับ นักท่องเที่ยว
7.หมู่บ้านหลวง
เป็นหมู่บ้านของชาวจีนยูนานที่อพยพมาจากประเทศจีน ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยอาชีพหลักของ ชาวบ้าน จะเป็นอาชีพด้าน การเกษตร ซึ่งจะปลูกผลไม้ อาทิเช่น พีช,พลัม,สาลี่
นอกจากนี้ภายในหมู่บ้าน ยังมีี ร้านอาหาร จีนยูนาน จำหน่ายข้าวซอย และ ซาลาเปารสชาดดี สไตล์จีนยูนานให้นักท่องเที่ยวได้ลองชิมอีกด้วย ทัศนียภาพของฝั่งประเทศพม่าได้ นอกจากนี้ ยังจะได้ชมแบบ บ้านตัวอย่างของทหารว่ามีความเป็นอยู่อย่างไร
8.เขาหัวโล้น เขาหัวนก
เป็นชื่อของภูเขาสองลูกของไทยและพม่า โดยที่เขาหัวโล้นจะอยู่ในฝั่งไทยส่วนเขาหัวนกจะอยู่ฝั่งพม่า และเราจะ สังเกตที่ตั้งของภูเขาทั้งสองลูกนี้ได้ เพราะจะอยู่ด้านซ้ายมือระหว่างเส้นทางที่จะมุ่งหน้าไปหมู่บ้านนอแล
9.จุดสุงสุดของดอยอ่างขาง
จุดนี้จะเป็นจุดที่สูงที่สุดของดอยอ่างขาง ตั้งอยู่ด้านนอกสถานีฯ โดยจะเริ่มเส้นทางบริเวณจุดชมนกและเส้ ทาง เดินกุหลาบพันปี ซึ่งจะใช้เวลาเดินเท้าขึ้นไปประมาณชั่วโมงครึ่ง ซึ่งยอดจะมีความสูง 1,928 เมตรจากระดับ น้ำทะเล
หากนักท่องเที่ยวขึ้นไปชมวิวบนยอดในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ของทุกปี ท่านจะได้เห็นกุหลาบ พันปีที่ะออกดอก ตลอดเส้นทางที่เดินขึ้นไปยอดดอยทีเดียว
10.ดอกพญาเสือโคร่งบานดอยอ่างขาง
หากเรามาเที่ยวดอยอ่างขางในช่วงปลายธันวาคม -กลางเดือนมกราคม ของทุกปี จะพบกับเส้นทางสีชมพูของ ดอกพญาเสือโคร่ง ที่บานสะพรั่ง
ระหว่างเส้นทางไปยังดอยอ่างขางและตามจุดเที่ยวๆต่าง โดยเฉพาะบริเวณโครง การหลวงซึ่งจะมีให้เห็นมากที่สุด
10.ดงเบิ้ลเปลี่ยนสี
บนดยอ่างขางจะมีต้นเมเบิ้ลซึ่งเป็นต้นไ้่ม้มืองหนาวปลูกอยู่ระหว่างทางจำนวนมาก และในช่วงหน้าหนาวประมาณ เดือนธันวาคมถึงกลางธันวาคม
นอกจากจะได้ชมความงามของดอกพญาเสือโคร่งแล้ว ยังได้ชมความสวยงามของ เมเบิ้ลเปลี่ยนสีทั้งสีแดง สีเหลือง สลับกันไป หากขับรถไประหว่างสองข้างทาง บรรยกาศเหมือนอยู่ในต่่งประเทศ
การเดินทาง
การเดินทางสู่ดอยอ่างขางสามารถเดินทางได้ 2 เส้นทาง
• เส้นทางที่ 1 จากตัวเมืองเชียงใหม่ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 107 สายเชียงใหม่-ฝาง เลี้ยวซ้ายทางแยกตำบลเมืองงาย ตรงเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 1178 ผ่านบ้านอรุโณทัยไปยังศูนย์ฯ
• เส้นทางที่ 2 จากตัวเมืองเชียงใหม่ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 107 สายเชียงใหม่-ฝาง ถึงกิโลเมตร 137 แยกบ้านปางควาย เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1249 ตรงไปประมาณ 25 กิโลเมตร
หมายเหตุ : ใช้รถยนต์ได้ทุกประเภท (ควรเช็คสภาพเครื่องยนต์ก่อนขึ้นเขา และผู้ขับขี่ควรมีประสบการณ์ เพราะเส้นทางมีความชันมาก) หรือใช้บริการรถยนต์รับจ้าง จุดจอด ณ ปากทางขึ้นดอยอ่างขาง ราคาเหมา 1,000 – 1,500 บาท
สถานที่ติดต่อ
• สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง บ้านคุ้ม หมู่ 5 ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ 50320 โทร. 053 450 107, 053 450 108, 053 450 109