ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ ทริปนี้ที่เชียงใหม่ มาร่วม เดินทาง ทริปของคุณ ไปกับเราที่นี่เร็วๆนี้   Click to listen highlighted text! ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ ทริปนี้ที่เชียงใหม่ มาร่วม เดินทาง ทริปของคุณ ไปกับเราที่นี่เร็วๆนี้
Site icon ทริปนี้ที่เชียงใหม่

วัดพระพุทธบาทสี่รอย

ประวัติและที่มาของวัด พระพุทธบาทสี่รอย

เมื่อครั้งสมัยพุทธกาล องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในศาสนาปัจจุบันนี้ได้เสด็จจาริกประกาศธรรม และโปรดเวไนยสัตว์มายังปัจจันตประเทศ ( ประเทศไทยปัจจุบัน )

 

จนกระทั่งมาถึงเทือกเขาทางตอนเหนือของประเทศชื่อ เขาเวภารบรรพตซึ่งขณะนั้นได้เสด็จพร้อมกับพุทธสาวก 500 องค์และได้ แวะฉันจังหันอยู่บนเขาเวภารบรรพตแห่งนี้

 

เมื่อพระพุทธองค์ฉันจังหันเสร็จขณะประทับอยู่ที่นั้นก็ได้ทราบด้วยญาณ สมาบัติว่าบนเทือกเขาแห่งนี้ได้มีรอย พระพุทธบาทของพระพุทธเจ้ามาประทับอยู่บนก้อนหินใหญ่

 

คือ พระพุทธเจ้าที่มาตรัสรู้ภัทรกัลป์นี้แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงเล็งดูรอยพระ พุทธบาทแห่งพระ พุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ คือ พระพุทธเจ้ากกุสันธะ พระพุทธเจ้าโกนาคมนะ พระพุทธเจ้ากัสสปะ

 

อันมีในที่นี้พุทธสาวกทั้งหลายมีพระสารีบุตรเป็นประธาน เมื่อเห็นเช่นนี้จึงทูลถามว่าพระพุทธองค์ทรงเล็งดูด้วยเหตุใด

 

พระพุทธองค์ตอบว่า ดูก่อนท่านทั้งหลายสถานที่แห่งนี้ แม้นว่าพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ที่ ล่วงมาแล้วในอดีตกาล ก็มาประทับรอยพระบาทไว้ ณ ที่นี้ทุกๆพระองค์ และแม้นว่าพระศรีอาริยเมตไตร ก็จักเสด็จมาประทับรอยพระบาทไว้ ณ ที่นี้

 

และ จักรประทับรอยพระบาทสี่รอยนี้ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียว ( คือ ประทับลบทั้งสี่รอยให้เหลือรอยเดียว ) เมื่อพระพุทธองค์ตรัสแก่สาวกทั้งหลายเสร็จแล้วพระ องค์ก็เสด็จไปประทับรอยพระบาทซ้อนรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์

 

จึงมีรอยพระพุทธบาท ของพระพุทธเจ้า 4 พระองค์จึงกําเนิดเป็นพระ พุทธบาทสี่รอย เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราประทับรอยพระบาทซ้อนรอยพระบาท

 

ของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์นั้นแล้วก็ทรงอธิฐานว่า ในเมื่อกูตถาคตนิพพานไปแล้ว เทวดาทั้งหลายก็จักนําเอาพระ ธาตุของกูตถาคมมาบรรจุไว้ที่รอยพระบาทที่นี่

 

ทั้งสี่รอย ทุกๆพระองค์ หลังจากนั้นมาพระบาทรังรุ้งหรือรังเหยี่ยวก็เปลี่ยนชื่อเป็น” พระพุทธบาทสี่รอย ” เพราะมีรอยพระพุทธบาทประทับซ้อนกันถึงสี่รอย คือมีรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าทั้งสี่พระองค์ที่ล่วงลับมาแล้วในภัทร กัลป์นี้ คือ

 

รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้ากกุสันธะ รอยแรกเป็นรอย ใหญ่ยาว 12 ศอก รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าโกนาคมนะ เป็นรอยที่ 2 ยาว 9 ศอก รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้ากัสสปะเป็นรอยที่ 3 ยาว 7 ศอก รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าโคตะมะ ( ศาสนาปัจจุบัน ) เป็นรอยที่ 4 รอยเล็กที่สุด ยาว 4 ศอก

 

เมื่อมาถึงสมัยพระยาธรรมช้างเผือกผู้ครองนคร เชียงใหม่ พร้อมด้วยบริวาร 500 คนก็ขึ้นไปกราบสักการะบูชาพระพุทธบาทสี่รอย และได้สร้างวิหารครอบพระพุทธบาทสี่รอยไว้ชั่วคราว

 

 

ทางขึ้นด้านหน้าลานจอดรถ
พระวิหารหลังใหม่วัดพระพุทธบาทสี่รอย ต.สะลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
ภายในพระวิหารหลังใหม่วัดพระพุทธบาทสี่รอย

 

แต่เดิมถ้า ใครจะดูรอยพระพุทธบาทบนยอดหินก้อนใหญ่ ต้องใช้บันไดพาดขึ้นไปหรือปีนขึ้นไปดูซึ่งก็คงจะขึ้นได้เฉพาะผู้ชายเท่านั้น ดังนั้น พระยาธรรมช้างเผือก จึงตรัสสร้างแท่นยืนคล้ายๆนั่งร้านรอบๆก้อนหินที่มีพระพุทธบาทสี่รอย

 

และได้สร้างหลังคาชั่วคราวมุงไว้ ต่อมาในสมัยพระชายาเจ้าดารารัศมีก็ได้ขึ้นไป กราบนมัสการพระพุทธบาทสี่รอยและได้มีพระราชศรัทธา ก่อสร้างวิหารเป็นการกราบบูชารอยพระพุทธบาทไว้หนึ่งหลัง

 

หลังเล็กปัจจุบันได้บูรณะปฏิสัง ขรณ์แล้วทั้งหลัง พอมาสมัยเมื่อปี พ.ศ. 2472 ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทยก็ได้ขึ้นไปกราบนมัสการพระพุทธบาทสี่รอย และได้รื้อพระวิหารที่เจ้า พระยาธรรมช้างเผือกสร้างไว้ชั่วคราว

 

และได้สรางพระวิหารครอบรอยพระพุทธบาทไว้ใหม่ และได้ฉาบปูนครอบรอยพระพุทธบาทสี่รอย พระพุทธบาทสี่รอยนี้เป็นพระพุทธบาทที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย

 

ด้านหน้าพระวิหารที่มีรอยพระบาท
ด้านหน้าพระวิหารที่มีรอยพระบาท
รอยพระบาท ของพระพุทธเจ้าทั้ง 4 พระองค์
รอยพระบาท ของพระพุทธเจ้าทั้ง 4 พระองค์
รอยพระบาท ของพระพุทธเจ้าทั้ง 4 พระองค์
พระประธานในพระอุโบสถ
พระพุทธรูป พุทธศิลป์แบบศิลปะล้านนาในพระอุโบสถ

ที่ตั้ง

วัดพระพุทธบาทสี่รอย ต.สะลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

 

การเดินทาง

โดยรถยนต์ส่วนตัวใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 107 สายเชียงใหม่-ฝาง ตรงไปถึงอำเภอแม่ริมจากอำเภอแม่ริม เลยทางแยกที่ไปยังอำเภอสเมิง(ปางช้างแม่สา น้ำตกแม่สา)ไปเล็กน้อยก็จะมีทางแยกซ้าย

 

มีป้ายบอกว่าไปวัดพระพุทธบาทสี่รอย ระยะทาง ๓๒ กม.ผ่านบ้านควายไทยจนถึงตำบลสะลวง เลี้ยวซ้ายไปตามถนนราดยาง จนถึงวัดสันป่าตึง วิ่งต่อไปเส้นทางบังคับไม่ต้องกลัวหลง

 

บริเวณวัดมีลานจอดรถกว้างขวาง มีที่พักสำหรับผู้ที่จะไปจาริกแสวงบุญได้

 

Exit mobile version
Click to listen highlighted text!